วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การปลูกผักหวานป่า

สร้างอาชีพ สร้างรายได้
"ผักหวานป่า"




        ผักหวานป่า เป็นพืชผักพื้นบ้านที่คนส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภค แต่จะมีให้บริโภคเฉพาะฤดูกาลเท่านั้นคือช่วง มีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งเป็นผักหวานที่เก็บจากป่าธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากยังมีการปลูกกันน้อย โดยเฉพาะการปลูกเป็นสวนเชิงการค้า จะมีแหล่งปลูกใหญ่ ๆ ไม่กี่แห่ง เช่นที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เกษตรกรปลูกผักหวานป่าขายเป็นอาชีพ มีรายได้ตลอดปีทั้งจากการขายยอดผักหวานป่า และขายต้นกล้าผักหวานป่า
           จากการศึกษาทดสอบการปลูกผักหวานป่าในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) พบว่าหากมีการจัดการสวน ตั้งแต่การปลูก ให้น้ำ ให้ปุ๋็ย กำจัดวัชพืช โรคแมลง และปลูกพืชร่มเงา จะทำให้ผักหวานป่ารอดตายสูง และเติบโตเร็ว อายุ ปีครึ่ง สามารถเก็บผลผลิตได้โดยเฉพาะการปลูกระยะชิดจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ผลผลิต การควบคุมทรงต้นให้พอเหมาะ ทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตสะดวก ผักหวานป่าเป็นพืชที่หลายคนเข้าใจว่าปลูกยาก แต่จากการศึกษาทดสอบการปลูกผักหวานป่าโดยใช้เทคโนโลยีการปลูกร่วมกับการจัดการดูแลรักษา จะพบว่า "การปลูกผักหวานป่าไม่ยากอย่างที่คิด"
  
การปลูกและบำรุงรักษา
 การเตรียมดิน ในแปลงศึกษาทดสอบของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) เริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม โดยขุดหลุมขนาด30x30x30 เซนติเมตร ผสมวัสดุปลูกโดยใช้ดิน ปุ๋ยคอก แกลบดิบที่ย่อยสลายแล้ว อัตราส่วน 1:1:1โดยปริมาตรผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วกลบลงในหลุมปลูก การเตรียมวัสดุปลูกที่ดี มีระบบการให้น้ำ และปลูกพืชให้ร่มเงา จะทำให้ต้นผักหวานป่าเจริญเติบโตได้เร็ว 
   
     
     การเตรียมหลุมปลูกขนาด          ผสมวัสดุปลูกลงไปในหลุม
       30x30x30 เซนติเมตร


           การเตรียมต้นกล้า สร้างความแข็งแรงให้ต้นกล้าก่อนย้ายปลูกลงหลุมจริง ด้วยการรดน้ำให้น้อยลง ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเพิ่มขึ้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้นไม่เกิน 2% (1 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร) รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูก ประมาณ อาทิตย์ และงดให้น้ำ วัน ก่อนย้ายปลูก
     
         ลักษณะต้นกล้าผักหวานป่าที่พร้อมปลูก

           ระยะปลูก ผักหวานป่าสามารถปลูกได้หลายระยะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูก ในแปลงศึกษาทดสอบของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) จะใช้ระยะปลูก 1x1 เมตร, 1.5x1.5 เมตร ซึ่งเป็นการปลูกระยะชิด เพื่อเพิ่มจำนวนต้นและผลผลิตต่อไร่ ควรมีการตัดแต่งไม่ให้ต้นสูง และสร้างทรงพุ่มเล็ก เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว หรือจะใช้ระยะปลูก 2-3x2-เมตร จะทำให้สะดวกในการดูแลจัดการสวน

      
     การปลูกผักหวานป่าโดยใช้ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว
  1x1 เมตร, 1.5x1.5 เมตร


           การปลูก หัวใจสำคัญของการปลูกผักหวานป่าให้รอดตายคือ อย่าให้รากของผักหวานป่าได้รับการกระทบกระเทือนจนรากขาด การถอดถุงพลาสติกเพื่อนำต้นกล้าลงหลุมปลูกต้องระวังอย่าให้ตุ้มดินแตกหักหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตเป็นเวลานาน การปลูกควรให้ต้นกล้าสูงกว่าปากหลุมประมาณ เซนติเมตร แล้วพูนดินขึ้นกลบโคนโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังหลุมปลูก ปลูกไม้พี่เลี้ยงเพื่อให้ร่มเงาผักหวานป่าในช่วง 2 ปีแรก เช่น มะเขือเปราะ พริก โดยปลูกด้านข้างหลุมทางทิศตะวันตก ในแปลงปลูกผักหวานป่าต้องปลูกไม้ให้ร่มเงา เช่น ต้นมะขามเทศ ชะอม สะเดา น้อยหน่า เหลียง แค เลี่ยน ซึ่งนิสัยของผักหวานป่าจะชอบแสงแดดรำไร ปริมาณแสง 50%ชอบอากาศร้อน จะช่วยให้แตกยอดอ่อนได้ดี

      
              การปลูกผักหวานป่า       หลังปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่มใต้ร่มเงาต้นแค

           การให้น้ำ ในช่วงต้นฤดูฝน ผักหวานป่าจะได้น้ำจากน้ำฝนธรรมชาติที่ตกลงมา แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องมีการให้น้ำช่วยในช่วงแรกของการปลูกใหม่ หรือในหน้าแล้งโดยให้น้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง พอให้ดินชื้นอย่าให้ดินแฉะ ผักหวานป่าไม่ชอบน้ำมากนัก ในแปลงศึกษาทดสอบของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) จะมีการให้น้ำโดยระบบน้ำหยด

      
การให้น้ำผักหวานป่าโดยระบบน้ำหยด

           การใส่ปุ๋ย หลังปลูกผักหวานป่าได้ 3-4 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 10-15กรัม/ต้น ห่างโคนต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร โรยทับด้วยปุ๋ยคอกแล้วกลบดิน ในแปลงศึกษาทดสอบการปลูกผักหวานป่าของศูนย์ฯ ในช่วงปีแรกจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอก เดือน/ครั้ง เพิ่มปริมาณปุ๋ยตามขนาดของต้นผักหวานป่า
          เมื่อขึ้นสู่ปีที่สองจะใส่ปุ๋ย ครั้ง คือช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน และปลายฤดูฝน ประมาณเดือน กันยายน-ตุลาคม โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัม/ต้น โรยทับด้วยปุ๋ยคอก 1-3 บุ้งกี๋/ต้น ในช่วงนี้ต้นผักหวานป่าที่สมบูรณ์จะมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ เมตร


                 
การใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกโดยโรยรอบต้นผักหวานป่า

           การกำจัดวัชพืช ใช้วิธีถอน ใช้มีดหรือจอบสับ หรือใช้เครื่องตัดหญ้า แล้วนำเศษวัชพืชคลุมโคนต้นผักหวานป่า ไม่แนะนำให้ใช้จอบถากหญ้าและพรวนดิน เพราะจะกระทบกระเทือนกับระบบราก 

การกำจัดวัชพืชระหว่่างแถวปลูกผักหวานป่า

 การเจริญเติบโตและการจัดทรงต้น
           ในการปลูกผักหวานป่าด้วยการเพาะเมล็ดนั้น ไม่ควรชำอยู่ในถุงนานเกินไป รากอาจจะขดเมื่อนำไปปลูกลงแปลงและอาจทำให้รากฉีกขาดได้ ผักหวานป่าเป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้ามาก เช่น อายุ ปี อาจสูงไม่เกิน ฟุต จากการสังเกตในแปลงศึกษาทดสอบการปลูกผักหวานป่าของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) พบว่าผักหวานป่าอายุปลูกเท่ากัน การเจริญเติบโตจะไม่สม่ำเสมอกัน และจะเจริญเติบโตแตกกิ่งกระโดงได้ดีในช่วงปลายฤดูฝนจนถึงช่วงแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ผักหวานป่าแตกยอดให้ผลผลิต ผักหวานป่าต้นที่สมบูรณ์อายุ ปีครึ่ง จะสูงประมาณ 1-1.5 เมตร เมื่อผักหวานป่าโตเต็มที่จนเก็บผลผลิตได้จะมีอายุยืนมาก ในป่าธรรมชาติมีอายุกว่า 100 ปี สำหรับการปลูกผักหวานป่าเป็นสวน โดยเฉพาะการปลูกระยะชิด อาจต้องควบคุมความสูงของต้นและุทรงพุ่มให้อยู่ที่ 1-1.5 เมตร เพื่อให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว
                   
                     
                             ต้นผักหวานป่าอายุ เดือน    ต้นผักหวานป่าอายุ ปี  

 
ต้นผักหวานป่าอายุ 2 ปีครึ่ง

 การกระตุ้นยอดอ่อนและการเก็บเกี่ยว
           เมื่อผักหวานป่าเจริญเติบโตเต็มที่ ก็เริ่มทำการตัดแต่งกิ่ง โดยตัดปลายกิ่งแขนงทิ้งให้เหลือยาว 15-20 เซนติเมตร รูดใบแก่บางส่วนทิ้งให้เหลือติดกิ่ง ๆ ละ 3-4 ใบ พร้อม ๆ กับการให้น้ำพอดินชื้น เมื่อยอดแตกออกมายาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ก็เก็บยอดไปจำหน่ายได้ โดยเก็บในช่วงเช้าไปจนถึงเที่ยงวัน จะหยุดเก็บเพราะอากาศร้อนยอดผักหวานจะเหี่ยวงอไม่สดชื่น
          ในแปลงศึกษาทดสอบของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) ต้นผักหวานที่สมบูรณ์ จะเริ่มให้ผลผลิตได้ตั้งแต่อายุ ปีครึ่ง เมื่อผักหวานป่าหมดยอดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 50-100 กรัม/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นผักหวานป่าควบคู่กับปุ๋ยคอก 1-3 บุ้งกี๋ พร้อมกับให้น้ำเพื่อบำรุงต้นและพักต้น


               
                   ต้นผักหวานป่าที่ตัดแต่งกิ่งและรูดใบ      ปลูกผักหวานป่าระยะชิด
                                                                   ต้นเตี้ยเพื่อกระตุ้นให้เกิดยอดอ่อน
                                                                   ทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว



                                   

2 ความคิดเห็น: